จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำถามทบทวน บทที่ 5 สื่อการสอนประเภทวัสดุ

ข้อที่ 1 วัสดุ 2 มิติกับ 3 มิติ มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ "วัสดุ 2 มิติ" คือ วัสดุกราฟิกซึ่งมีรูปร่างแบนไม่มีความหนา
"วัสดุ 3 มิติ" คือ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงไดด้วยตัวมันเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอน

ข้อที่ 2 วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ " กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้

ข้อที่ 3 วัสดุกราฟิกมีคุณค่าและประโยชน์อย่างไร
ตอบ
คุณค่าของวัสดุกราฟิก
1. ราคาถูก ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
2. สามารถบรรจุความรู้ไว้ในตัวมันเองและสื่อความหมายได้ทันที
3. ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ด้วยรูปภาพ สัญญลักษณ์และตัวอักษร
4. เก็บรักษาง่าย ใช้ได้สะดก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
5. สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆได้

ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร

ข้อที่ 4 วัสดุกราฟิกที่ดีมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1. ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. มีรูปแบบง่ายต่อการรับรู้และการทำความเข้าใจ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน สื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจทั้งรูปภาพ สัญญลักษณ์ ตัวอักษร และถ้อยคำ
3. เน้นจุดเด่นด้วยสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น ทิศทาง ให้ดูแตกต่างจากข้อมูลอื่น
4. มีความหมายเป็นเอกภาพ สอดคล้องกับทั้งเนื้อหาและรูปแบบของสื่อ
5. เนื้อหาข้อมูลถุกต้อง ประณีตสวยงาม มีคุณค่าเชิงศิลปกรรม

ข้อที่ 5 หลักการออกแบบวัสดุกราฟิกที่ดีเป็นอย่างไร
ตอบ 1. ต้องตรงกับลักษณะของผูเรียน เนื้อหา และวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ
3. คำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ การผลิต การใช้ และการเก็บรักษา
4. ออกแบบง่ายๆแต่สื่อความหมายดี ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป
5. กระบววนการออกแบบและผลิต ไม่ยุ่งยากวับซ้อนเกินไป โครงสร้างโดยรวมเหมาะสมกับเนื้อหา สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรม มีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

ข้อที่ 6 จงกล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก
ตอบ
ข้อดี
1. แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
2. ผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษมากนัก
3. ต้นทุนการผลิตถูกกว่าสื่อประเภทอื่นๆ
4. ใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก เก็บรักษาง่าย
5. ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้ง่าย

ข้อจำกัด
1. ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
2. การออกแบบแลการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
3. วัสดุกราฟิกที่มีคุณภาพดีต้องอาศัยความชำนาญในการออกแบบและการผลิต


ข้อที่ 7 แผนภูมิกับแผนภาพแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ "แผนภูมิ" เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองคืประกอบเป็นสัญญลักษร์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระ เนื้อหาที่เหมาะกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ ขั้นตอน การเปรียบ กระบวนการ การแสดงความสัมพันธุ์ของข้อมูลข่าวสาร
"แผนภาพ" เป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งขิงหรือของระบบงาน เนื้อหาที่เหมาะกับการนำเสนอด้วยแผนภาพ ได้แก่ เนื้อหาที่ต้องการแสดงโครงสร้างหรือสัดส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายใน กระบวนการ ความสัมพันธ์ภายในที่ไม่ต้องการมองเห็นได้

ข้อที่ 8 ภาพพลิก ภาพชุด แผ่นภาพแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ..."ภาพพลิก" เป็นทัศนวัสดุที่เป็นภาพชุดของภาพวาด ภาพถ่าย หรือ แผนสถิติ นำมาเย็บเล่มรวมกันเป็นเรื่องราวเดียวกันสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ โดยทั่วไปมีประมาณ 10-15 แผ่น
..."ภาพชุด" เป็นทัศนวัสดุที่สามารถใช้งานได้ง่ายมีขนาดเล็กกว่าภาพพลิก ลักษณะสำคัญคือเป็นชุดของภาพที่เรียงลำดับเรื่องราวไว้แล้วเป็นขั้นๆ เย็บรวมกันเป็นเล่ม ในแต่ละหน้าจะมีคำบรรยายโดยด้านหลังของหน้าแรกจะเป้นคำบรรยายของภาพหน้าที่สอง และด้านหลังหน้าที่สองจะเป็นคำบรรยายของภาพหน้าที่สาม เป็นลำดับเช่นนี้ตลอดไปจนจบเรื่อง
... "แผ่นภาพ" เป็นทัศนวัสดุอย่างง่ายๆ โดยนำรุปภาพมาผนึกกับกระดาษแข็งเป็นแผ่นๆ ไม่ต้องเย็บรวมเป็นเล่ม รูปภาพควรมีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ชัดเจน

ข้อที่ 9 จงยกตัวอย่างและอธิบายลักษณะสื่อวัสดุ 3 มิติ มา 3 อย่าง
ตอบ 1. หุ่นจำลอง เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อลองเลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ แสดงสัดส่วนสีสันเหมือนของจริงทุกประการ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกทดแทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
2. ของจริง หมายถึงสิ่งเร้าต่างๆที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้น อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามะรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและอาจเป็นสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส และได้สัมผัสกับบรรยากาศของจริงด้วยตนเอง
3. ป้ายนิเทศ เป็นทัศนวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อวัสดุอื่นๆใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด รวมทั้งวัสดุ 3 มิติ ของจริง และหุ่นจำลอง เพื่อถ่ายทอดเนื่อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ข้อที่ 10 จงยกตัวอย่างและอธิบายลักษณะสื่ออิเล็กทรอนิกส์มา 3 อย่าง
ตอบ 1. เทปบันทึกเสียง เป็นวัสดุที่ใช้บันทึกเสียงในรูปแบบของคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้าสามารถลบและบันทึกได้อีก
2. เทปวิดีทัศน์ เป็นวัสดุที่สมารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถลบและบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับแถบบันทึกเสียง
3. แผ่นซีดี เป็นแผ่นวัสดุพลาสติกบางๆ มีลักษระเป็นแผ่นแบนกลม สามารถบันจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 680-700 เมกะไบต์ และเล่นได้นาน 74-80 นาที